วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หนังสือเรียน

ประเภทหนังสือ(หนังสือเรียน)






              หนังสือเรียนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกๆสถานศึกษาสำหรับทุกๆคนที่เป็นนักเรียน ในสถานศึกษาจึงต้องมีหนังสือไว้สำหรับให้นักเรียนใช้เรียน เพราะฉะนั้นทางโรงเรียนจึงต้องให้ความสำคัญกับหนังสือเรียนทุกเล่มเลือกไม่เหมาะกับเด็กแล้วจะทำให้มีปัญหาทางการเรียนได้ 
       ผู้ที่เป็นครูจึงมีหน้าที่สำคัญในการเลือกดูหนังสือ ศึกษาหนังสือเรียนให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกขั้นตอน เพื่อตัวครูผู้สอนและเด็กที่เราสอน หนังสือแต่ล่ะเล่มมีที่มาเป็นอย่างไรเราจึงควรศึกษาไว้เป็นความรู้ส่วนตัวเผื่อว่าถ้าเด็กเล็กๆถามเราก็จะตอบได้อย่างเต็มปากว่า หนังสือมีที่มาจาก....... 
ในปีพ.ศ 2441 ได้กล่าวถึง" สมุดตำราเรียน " ซึ่งในบางแห่งหรือในบางที่เรียก แบบเรียน หรือสมุดแบบเรียน จึงสันนิษฐานว่าในสมัยนั้นวิชาการต่างๆคงจะเขียนกันลงสมุด และคำว่าตำราเรียนคงจะเป็นคำที่ใช้สลับกับคำว่าแบบเรียน ต่อมาในปีพ.ศ 2494 กล่าวถึงการศึกษาแบบใหม่ว่าด้วย" หลักสูตรและแบบเรียน "ซึงจะไม่มีคำว่าตำราเรียนเลย แต่เมื่อค้นในพจนานุกรม เมื่อปี 2493 จะมีคำว่า ตำราคำเดียว ไม่มีคำว่าแบบเรียนและในพจนานุกรม ตำราหมายความว่า แบบแผนที่ว่าด้วยวิชาการต่างๆสรุปได้ว่าตำราคงจะเป็นคำที่ใช้ในสมัยก่อนที่จะใช้แบบเรียน ส่วนแบบเรียนหมายถึง หนังสือที่ให้นักเรียนเรียนในชั้นเรียนต่างๆ 
แบบเรียนหรือหนังสือเรียนที่เรียนกันในปัจจุบันก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องการแบบใด
ลักษณะของหนังสือเรียนที่ดีและเกณฑ์ในการเลือก 
ปัจจุบันในการเรียนแต่ละวิชา ทางกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเกรฑ์ในการเลือกหนังสือให้ใช้ในโรงเรียนจะต้องเลือกจากบัญชีที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ได้ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องพิจารณาเลือกหนังสือที่คิดว่าเป็นแบบเรียนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ละมีประโยชน์มากที่สุดสำหรับให้นักเรียนใช้เป็นหนังสือเรียน ครูจึงควรศึกษาหลักเกณฑ์ในการเลืกหนังสือเรียนที่ดีที่สุดตามหลักการณ์เลือกดังนี้คือ 
1. ควรมีเนื้อเรื่อง คำอธิบาย รูปภาพ กิจกรรม และแบบฝึกหัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิชานั้นๆ 
2. ควรมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อความกะทัดรัด คำอธิบายชัดเจน เข้าใจง่าย 
3.สำนวนโวหารที่ใช้สละสลวยเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้เรียน มีการจัดระเบียบ วางลำดับบทเรียนก่อนหลังตามหลักวิชา เพื่อความสะดวกแก่การเรียนการสอน แบ่งบทเรียนออกเป็นหน่วยๆ มีเนื้อหาวิชาเหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และเข้าใจในแต่ละหน่วยได้ในเวลาอันเหมาะสม มีเวลาทบทวนและหาความรู้เพิ่มเติมได้ 
4. แนวการเขียน ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ ใช้ถ้อยคำน่าสนใจชวนอ่าน ข้อความที่ใช้มีความหมายแจ่มแจ้ง ศัพท์ที่ใช้เหมาะกับระดับที่ใช้แบบเรียน ให้ความคิดรวบยอด อ่านแล้วเข้าใจง่าย 
5. แบบเรียนควรมีรูปเล่มที่สวยงาม ใช้กระดาษที่มีคุณภาพ ตัวหนังสืออ่านง่าย ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด และปกมีสีสวยงาม 
6. มีเอกสารอ้างอิงและมีที่มาของข้อมูล มีสารบัญ คำนำ คำอธิบายศัพท์ และดัชนี 

จากหลักเกณฑืในการเลือกหนังสือที่ได้กล่าวไว้ ถ้าเราอยากได้หนังสือดีๆสักเล่มเราควรนึกถึงว่า หนังสือเล่มหนึ่งที่เราจะหาประโยชนืจากหนังสือเราควรจะดูอะไรบ้างเพือ่ไม่ให้เสียใจภายหลังและเสียเงินไปฟรีๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น