ประเภทของหนังสือ ( นิตยสาร )
1.นิตยสาร
คือสิ่งที่พิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย
มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้
มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป
ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร
(เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่าวารสาน ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน
แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน
เมื่อมีการใช้ อินเตอร์เน็ตทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์
แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร
แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทยขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง
ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์
สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม
มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน
โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา
เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม
นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The
Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450
นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots
Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น