วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของหนังสือ
ส่วนประกอบของหนังสือ
          การศึกษาส่วนประกอบของหนังสือนั้น มีความจำเป็นมากสำหรับผู้อ่าน นอกเหนือจากการอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือแล้ว  ผู้อ่านควรที่จะทราบส่วนประกอบของหนังสือด้วย เนื่องจากแต่ละส่วนของหนังสือ จะบอกข้อมูลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือใช้ประกอบการอ้างอิงได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการช่วยให้อ่านหนังสือได้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งหนังสือประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ส่วนปก (binding)
2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)
3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text / body of the book)
4. ส่วนประกอบตอนท้าย(auxiliary materials)
          หนังสือแต่ละเล่มที่ผลิตออกมานั้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มากน้อย แตกต่างกันไป อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยการผลิตหลายประการ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิด เพราะไม่มีหนังสือเล่มใดในโลก ที่มีส่วนประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ

ประโยชน์ของหนังสือ

ประโยชน์ของหนังสือ
1. เพื่อการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตัวเอง ถ้าใครบอกว่า เฮ่ย ความรู้ไม่ได้อยู่ในตำรา! มันอยู่นอกตำราถมไป ก็ใช่ครับ แต่เท่าที่ผมอ่านจากประวัติของผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยส่วนใหญ่ มีธาตุแท้ของการพยายามศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วย แต่ผมไม่ปฏิเสธความรู้นอกตำรา เพราะมันมีจริงเช่นกันครับ
2. เพื่อช่วยการเพิ่มพูนความรู้ อันนี้เห็นได้ชัดๆ คนที่มาทำงาน บางทีทำงานไม่ตรงกับสายอาชีพที่ตัวเองเรียนจบมา ถึงแม้ว่าตรงก็ยังต้องอัพเดทตัวเองให้ทันสมัย ผมว่าแทบจะถูกสาขาอาชีพเลยล่ะ ถึงจะไม่เพิ่มพูนความรู้ ก็เพิ่มพูนมุมมอง ทำให้เป็นคนใจกว้างขึ้น เช่น คนทำการเกษตร พออ่านนิตยสารการเกษตรก็จะต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ แล้วก็อาจจะพบว่า เอ๊ะ มีแบบนั้นด้วยเหรอ? เอาว่ะ เขาทำแบบนั้นกัน ประหยัดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
3. เปลี่ยนทัศนคติและมุมมอง บ้างก็ว่า You are what you read, Margaret Fuller กล่าวคำคมว่า Today a reader, tomorrow a leader (ร้านหนังสือบางแห่งติดแบนเนอร์คำนี้เพื่อจูงใจให้คนอ่านหนังสือ เหมือนวิทยาลัยบางแห่ง ขึ้นคัตเอาท์ ประโยคเด็ดของไอน์สไตน์ Imagination is more important than knowledge) เชื่อมั้ยค่ะ สำหรับบางคน เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เช่น พอได้อ่าน ชีวจิต แล้วชีวิตก็เปลี่ยนไป หรือบางคนอ่านเรื่องดีๆ จาก รีดเดอร์ ไตเจทส์ แล้วก็เกิดมุมมองใหม่ๆ คำถามคือ หนังสืออะไรที่มีอิทธิพลต่อคุณบ้างค่ะ?
4. เพื่อความบันเทิง หนีไปจากโลกปัจจุบัน (escapism) มันมีกันอยู่ทุกคนละครับ อาการเบื่อโลก หรือความต้องการในหาความบันเทิงนี่ ผมชอบอ่านนิยายครับ สมัยก่อน อ่านนิยายจีนกำลังภายใน ตอนหลังอ่านนิยายแปล กระทั่งอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น แต่อย่าได้ดูถูกนิยายต่างๆเหล่านี้นะครับ เพราะจริงๆแล้วในความบันเทิง ก็มีสาระซ่อนอยู่ หรือบางทีแฝงวิชาการ ความรู้ไว้ด้วย ได้ทั้งความบันเทิง ได้ทั้งมุมมอง อ่านแล้วสนุก หลายๆเรื่องมีโครงสร้างเรื่องของอารมณ์ จิตสำนึก หรือซ่อนความเลวร้าย กิเลสของคน หลายๆ เรื่องอ้างอิงถึงงานวิชาการระดับสูงๆ ด้วย
5. เพื่อค้นหาคามเป็นตัวของตัวเอง ศึกษาธรรมะ เพื่อคุณภาชีวิตที่ดีกว่า และดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่กระแสทุนนิยมไหลเชี่ยวกราก สังคมฟอนเฟะ คนรอบข้างไม่ได้ดั่งใจ กระทั่งบางทีก็รู้สึกว่า ทำไม ใครต่อใครรอบตัวเรา ในชีวิตคนทำงานนี่มันช่างเห็นแก่ตัวกันนัก (อ้าวๆๆ มองโลกในแง่ร้ายซะงั้น) หรือสงสัยว่า ไอ้ที่เราๆทำอยู่ทุกวันนี้ มันใช่ความสุขที่แท้ ตัวตนที่จริงของเราหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนี้ ลองหาหนังสือธรรมะมาอ่านครับ จะได้มีโอกาสได้รู้จักตัวเอง หรือทบทวนตัวเองไปด้วย
6. เพื่อให้ทันโลก (อันนี้ผม copy เรียงความของเด็กๆมา) แต่เด็กๆ มักจะบอกว่า ต้องอ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังข่าวถึงจะทันโลก --- โอเค สำหรับการเริ่มต้นที่จะโต ก็คงต้องแบบนั้นก่อน อ่านข่าว หัวเขียว หัวม่วง ไม่ว่ากัน แต่ก็น่าจะมีใครสักคนคอยสอนเด็กเหล่านั้น ให้มีวิจารณญาณในการเลือกเสพย์ข่าวด้วย เพราะข่าวพวกนั้นไม่ใช่ข่าวคุณภาพ การทันข่าวแบบนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรกับชีวิต ถามจริงๆ ข่าวฆ่ากันตายรายวัน ผัวเมียตบตีกัน มันช่วยให้ทันโลกตรงไหนหว่า?? ผมว่าข่าวพวกนี้ เป็น บันเทิงรายวันมากกว่า บันเทิงบนความเจ็บปวด บนความสูญเสียของคนอื่น แต่ถ้าหากจะทันโลกจริงๆ ก็ต้องศึกษาโลกด้วยความสุขุม ด้วยความเข้าใจจริงๆ สุดท้าย อะไรเกิดขึ้น ก็บอกว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เพราะเช่นนี้ จึงเป็นเช่นนั้น – ตถตา อ้าว กลายเป็นศาสนาไปเสียแล้ว การจะศึกษาให้ทันโลกนี้ มันต้องศึกษาทั้งโลกีย์ และโลกุตระ จริงๆนะครับ ทางหนึ่งศึกษาความเป็นไปของชีวิต อีกทางหนึ่ง ศึกษาธรรม สองอย่างนี้ แต่อ่านหนังสืออาจจะไม่พอ แต่ต้องอ่าน

หนังสือเรียน

ประเภทหนังสือ(หนังสือเรียน)






              หนังสือเรียนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกๆสถานศึกษาสำหรับทุกๆคนที่เป็นนักเรียน ในสถานศึกษาจึงต้องมีหนังสือไว้สำหรับให้นักเรียนใช้เรียน เพราะฉะนั้นทางโรงเรียนจึงต้องให้ความสำคัญกับหนังสือเรียนทุกเล่มเลือกไม่เหมาะกับเด็กแล้วจะทำให้มีปัญหาทางการเรียนได้ 
       ผู้ที่เป็นครูจึงมีหน้าที่สำคัญในการเลือกดูหนังสือ ศึกษาหนังสือเรียนให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกขั้นตอน เพื่อตัวครูผู้สอนและเด็กที่เราสอน หนังสือแต่ล่ะเล่มมีที่มาเป็นอย่างไรเราจึงควรศึกษาไว้เป็นความรู้ส่วนตัวเผื่อว่าถ้าเด็กเล็กๆถามเราก็จะตอบได้อย่างเต็มปากว่า หนังสือมีที่มาจาก....... 
ในปีพ.ศ 2441 ได้กล่าวถึง" สมุดตำราเรียน " ซึ่งในบางแห่งหรือในบางที่เรียก แบบเรียน หรือสมุดแบบเรียน จึงสันนิษฐานว่าในสมัยนั้นวิชาการต่างๆคงจะเขียนกันลงสมุด และคำว่าตำราเรียนคงจะเป็นคำที่ใช้สลับกับคำว่าแบบเรียน ต่อมาในปีพ.ศ 2494 กล่าวถึงการศึกษาแบบใหม่ว่าด้วย" หลักสูตรและแบบเรียน "ซึงจะไม่มีคำว่าตำราเรียนเลย แต่เมื่อค้นในพจนานุกรม เมื่อปี 2493 จะมีคำว่า ตำราคำเดียว ไม่มีคำว่าแบบเรียนและในพจนานุกรม ตำราหมายความว่า แบบแผนที่ว่าด้วยวิชาการต่างๆสรุปได้ว่าตำราคงจะเป็นคำที่ใช้ในสมัยก่อนที่จะใช้แบบเรียน ส่วนแบบเรียนหมายถึง หนังสือที่ให้นักเรียนเรียนในชั้นเรียนต่างๆ 
แบบเรียนหรือหนังสือเรียนที่เรียนกันในปัจจุบันก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องการแบบใด
ลักษณะของหนังสือเรียนที่ดีและเกณฑ์ในการเลือก 
ปัจจุบันในการเรียนแต่ละวิชา ทางกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเกรฑ์ในการเลือกหนังสือให้ใช้ในโรงเรียนจะต้องเลือกจากบัญชีที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ได้ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องพิจารณาเลือกหนังสือที่คิดว่าเป็นแบบเรียนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ละมีประโยชน์มากที่สุดสำหรับให้นักเรียนใช้เป็นหนังสือเรียน ครูจึงควรศึกษาหลักเกณฑ์ในการเลืกหนังสือเรียนที่ดีที่สุดตามหลักการณ์เลือกดังนี้คือ 
1. ควรมีเนื้อเรื่อง คำอธิบาย รูปภาพ กิจกรรม และแบบฝึกหัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิชานั้นๆ 
2. ควรมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหลักสูตร ข้อความกะทัดรัด คำอธิบายชัดเจน เข้าใจง่าย 
3.สำนวนโวหารที่ใช้สละสลวยเหมาะกับวุฒิภาวะของผู้เรียน มีการจัดระเบียบ วางลำดับบทเรียนก่อนหลังตามหลักวิชา เพื่อความสะดวกแก่การเรียนการสอน แบ่งบทเรียนออกเป็นหน่วยๆ มีเนื้อหาวิชาเหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และเข้าใจในแต่ละหน่วยได้ในเวลาอันเหมาะสม มีเวลาทบทวนและหาความรู้เพิ่มเติมได้ 
4. แนวการเขียน ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ ใช้ถ้อยคำน่าสนใจชวนอ่าน ข้อความที่ใช้มีความหมายแจ่มแจ้ง ศัพท์ที่ใช้เหมาะกับระดับที่ใช้แบบเรียน ให้ความคิดรวบยอด อ่านแล้วเข้าใจง่าย 
5. แบบเรียนควรมีรูปเล่มที่สวยงาม ใช้กระดาษที่มีคุณภาพ ตัวหนังสืออ่านง่าย ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด และปกมีสีสวยงาม 
6. มีเอกสารอ้างอิงและมีที่มาของข้อมูล มีสารบัญ คำนำ คำอธิบายศัพท์ และดัชนี 

จากหลักเกณฑืในการเลือกหนังสือที่ได้กล่าวไว้ ถ้าเราอยากได้หนังสือดีๆสักเล่มเราควรนึกถึงว่า หนังสือเล่มหนึ่งที่เราจะหาประโยชนืจากหนังสือเราควรจะดูอะไรบ้างเพือ่ไม่ให้เสียใจภายหลังและเสียเงินไปฟรีๆ 

หนังสือการ์ตูน

ประเภทหนังสือ(หนังสือการ์ตูน)
เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ภาพและคำพูดประกอบ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตามเนื้อเรื่องที่เขียนขึ้น มีทั้งที่อ้างอิงจากความจริง และเกิดจากความคิดของนักวาดการ์ตูน หรือนักแต่งการ์ตูน เป็นผู้วางเอาไว้ สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มังงะ
โดยส่วนใหญ่ หนังสือการ์ตูน จะเป็นการรวมเล่มของการ์ตูนที่ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น บูม, ซีคิดส์, KC Weekly เป็นต้น
ยังมีการ์ตูนที่แต่งเป็นพิเศษ หรือล้อเลียนการ์ตูนที่เขียนขึ้นแล้ว เพื่อความบันเทิงส่วนตัว หรือแต่งเพื่อกลุ่มคนที่ชอบในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า โดจิน หรือโดจินชิ

ภาพวาดที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน


1. ภาพเหมือนจริง
คือถ่ายทอดลักษณะทางกายภาพออกมาสมส่วน เหมือนหรือคล้ายใกล้เคียงของจริงมาก มีต้นแบบจากสิ่งที่มีอยู่จริง โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในการ์ตูนแบบนี้ดูสมส่วนเป็นไปได้ สามารถก่อสร้างขึ้นได้จริง ดังนั้นลักษณะการ์ตูนประเภทนี้จึงดูน่าเชื่อถือ
2. ภาพเกินจริง
คือเป็นภาพที่ออกเกินเลยของจริง ไม่สมส่วน มีความสามารถเกินจริง เช่น บินได้ ล้มต้นไม้ใหญ่ด้วยมือเปล่า อวัยวะบางส่วนใหญ่หรือเล็กเกินจริง มีอวัยวะบางอย่างน้อยหรือมากเกินจริง เช่น มีนิ้วมือ 8นิ้ว มีตา 3ตา เป็นต้น
3. ลักษณะเฉพาะ
ไม่เหมือนจริง คือเป็นลักษณะภาพวาดตามจินตนาการของผู้แต่ง หรือนักเขียนไปเลย โดยลักษณะภาพมีเอกลักษณ์เฉพาะนักเขียนแต่ล่ะท่าน ที่นิยมคือ มีลักษณะหัวใหญ่ ตัวผอม ตาโต ดูน่ารัก แสดงอารมณ์ชัดเจน

การสร้างแนวเรื่องของการ์ตูน

  1. สร้างหรือแต่งขึ้นตามจินตนาการ
  2. สร้างจากเรื่องจริง แต่อาจมีการเสริมเติมแต่งเพิ่มเพื่อความสนุก แต่งจะยึดถือเค้าโครงเรื่องจริงเป็นหลัก
  3. นำเรื่องอื่นดัดแปลงแก้ไขมา อย่างเช่น ตำนานไซอิ๋ว ก็มีการนำมาดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมเสริมต่อเป็นเรื่องต่างๆ ออกมามากมาย

การสร้างเรื่องราว

เรื่องราวเหตุการณ์ที่มีในชีวิตประจำวัน

  1. เรื่องราวสมมุติ สร้างขึ้น เหนือจริง

แนวเรื่องและเนื้อหาของการ์ตูน

  1. ตลกเฮฮาเน้นความสนุกสนาน อาจจะโดยทั้งเรื่อง หรือแทรกมาในบางช่วงตามเทคนิคของนักเขียน เป็นลักษณะทั่วไปของการ์ตูนส่วนใหญ่ เพื่อหวังนำเสนอกลุ่มนักอ่านส่วนใหญ่ที่เป็นเยาวชน
  2. จริงจังซีเรียส มักเป็นการ์ตูนประเภทกึ่งวิชาการ เนื้อหาจริงจัง เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
  3. การ์ตูนวิชาการ มักจะเป็นเรื่องสั้นๆ สร้างเพื่อแนะนำบุคคล อุปกรณ์ องค์กร สถานที่ต่างๆ
  4. ลามก หยาบโลน เนื้อหารุนแรง ส่อเสียดสังคม หนังสือการ์ตูนไม่ดีประเภทนี้มักปะปนมาแอบแฝงกับหนังสืออื่นๆ ผู้ปกครองควรพิจารณาและให้ความรู้ คำแนะนำแก่เยาวชน

วารสาร

              ประเภทของหนังสือ  ( วารสาร )

                                             

1. วารสารวิชาการ 


เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความทางวิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ วารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการศึกษา เช่น รัฐสภาสาร ราชกิจจานุเบกษา วารสารธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทรรศน์และสุทธิปริทัศน์ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานทางธุรกิจ เช่น ความรู้คือประทีป วารสารนักบัญชี วารสารกฎหมาย วารสารธุรกิจการท่องเที่ยว วารสารการเงินธนาคาร วารสารด้านคอมพิวเตอร์

2. วารสารวิจารณ์หรือปริทัศน์ 

เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความเชิงวิจารณ์ วิเคราะห์ หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการเมือง การปกครองวรรณกรรม ศิลปะ กีฬา ดนตรี ฯลฯ วารสารประเภทนี้ เช่น วารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ วารสารมติชนสุดสัปดาห์ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ วารสารอาทิตย์วิเคราะห์ ฯลฯ

3. วารสารบันเทิงหรือนิตยสาร 

เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอเรื่องราวทางด้านบันเทิงโดยอาจจะแทรกเรื่องราวทางวิชาการ เกร็ดความรู้ อาจแบ่งเป็นนิตสารสำหรับผู้อ่านทั่วไปหรือผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม เช่น นิตยสารสำหรับสตรี บุรุษ หรือสำหรับเด็กและครอบครัว นิตยสารรถ นิตยสารการตกแต่งบ้าน นิตยสารการท่องเที่ยวนิตยสารวงการบันเทิงภาพยนตร์และโทรทัศน์ อาจมีนวนิยายเรื่องสั้นหรือเรื่องแปลสอดแทรกอยู่ภายในเล่มก็ได้

4. วารสารทั่วไป 

คือ วารสารที่เสนอเรื่องทั่วไป ไม่เน้นหนักด้านใดด้านหนึ่ง มุ่งให้คนทั่วไปอ่านได้ มักเรียกว่านิตยสาร วารสารประเภทนี้มุ่งที่จะให้ความบันเทิงเป็นหลัก ดังนั้นเรื่องที่ตีพิมพ์ส่วนใหญ่จึงเป็นนวนิยายแต่ก็มีคอลัมน์ที่ให้ความรู้ บทความเบ็ดเตล็ด สรุปข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆไว้ด้วย ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ สกุลไทย ขวัญเรือน แพรวและดิฉัน เป็นต้น

5. วารสารวิชาการหรือวารสารเฉพาะวิชา

 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนและผู้อ่านประจำเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการนั้นหรือมีความสนใจในสาขาวิชานั้น ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ข่าวสารการธรณีและวารสารสร้างเสริมสุขภาพ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนกรมส่งเสริมสุขภาพนอกจากนี้ยังอาจพบวารสารบางชื่อซึ่งมีจำวนหน้าน้อยกว่าวารสารส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายจดหมายข่าว (newsletter) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวงวิชาการเฉพาะวิชา ใช้ชื่อว่า “จุลสาร” ได้ ดังตัวอย่างของ จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษาของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

6. วารสารที่มีลักษณะกึ่งวิชาการ หรือวารสารเชิงวิจารณ์ 

มีลักษณะผสมผสานระหว่างวารสารสองประเภท วารสารประเภทนี้มุ่งให้คนทั่วไปอ่านได้ ประกอบด้วยบทความหลายบทความ แต่แตกต่างจากวารสารทั่วไปคือเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ และใช้คำเรียกทั้งวารสารและนิตยสาร เช่น วารสารเมืองโบราณ นิตยสารสารคดี นิตยสารศิลปวัฒนธรรม อนุสาร อสท. นิตยสารชีวจิต นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และใกล้หมอ เป็นต้น

7. วารสารวิชาการ 

เป็นสิ่งพิมพ์ที่เสนอบทความรู้ทางวิชาการ มักจัดทำโดยสมาคมทางวิชาการ สถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาการเผยแพร่สารนิเทศใหม่ ๆ ในรูปของบทความรู้ เช่น วารสารแก่นเกษตร วารสาร สสวท. วารสารปศุสัตว์ วาสารวิศวกรรมสาร ฯลฯ

8. วารสารทั่วไป 

คือ วารสารที่เสนอบทความรู้ทั่วไปอาจมีความบันเทิงรวมอยู่ด้วย ส่วนมากจัดทำโดยสำนักพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า นิยมใช้คำว่านิตยสาร (magazine) เช่น นิตยสารขวัญเรือน เป็นต้น

9. วารสารวิเคราะห์วิจารณ์ข่าว
คือ วารสารที่นำเสนอบทวิเคราะห์ข่าว วิจารณ์ข่าว เช่น สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ มติชนสุดสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นิตยสาร


ประเภทของหนังสือ ( นิตยสาร )

1.นิตยสาร
         คือสิ่งที่พิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่าวารสาน ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้ อินเตอร์เน็ตทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทยขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม
นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450
นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์มื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน


หนังสือ


หนังสือ  



หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book)
การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อ วิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิม
หลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อ โทรทัศน์ เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน