ประเภทของหนังสือ ( วารสาร )
1. วารสารวิชาการ
เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความทางวิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ วารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการศึกษา เช่น รัฐสภาสาร ราชกิจจานุเบกษา วารสารธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทรรศน์และสุทธิปริทัศน์ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานทางธุรกิจ เช่น ความรู้คือประทีป วารสารนักบัญชี วารสารกฎหมาย วารสารธุรกิจการท่องเที่ยว วารสารการเงินธนาคาร วารสารด้านคอมพิวเตอร์
2. วารสารวิจารณ์หรือปริทัศน์
เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความเชิงวิจารณ์ วิเคราะห์ หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการเมือง การปกครองวรรณกรรม ศิลปะ กีฬา ดนตรี ฯลฯ วารสารประเภทนี้ เช่น วารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ วารสารมติชนสุดสัปดาห์ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ วารสารอาทิตย์วิเคราะห์ ฯลฯ
3. วารสารบันเทิงหรือนิตยสาร
เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอเรื่องราวทางด้านบันเทิงโดยอาจจะแทรกเรื่องราวทางวิชาการ เกร็ดความรู้ อาจแบ่งเป็นนิตสารสำหรับผู้อ่านทั่วไปหรือผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม เช่น นิตยสารสำหรับสตรี บุรุษ หรือสำหรับเด็กและครอบครัว นิตยสารรถ นิตยสารการตกแต่งบ้าน นิตยสารการท่องเที่ยวนิตยสารวงการบันเทิงภาพยนตร์และโทรทัศน์ อาจมีนวนิยายเรื่องสั้นหรือเรื่องแปลสอดแทรกอยู่ภายในเล่มก็ได้
4. วารสารทั่วไป
คือ วารสารที่เสนอเรื่องทั่วไป ไม่เน้นหนักด้านใดด้านหนึ่ง มุ่งให้คนทั่วไปอ่านได้ มักเรียกว่านิตยสาร วารสารประเภทนี้มุ่งที่จะให้ความบันเทิงเป็นหลัก ดังนั้นเรื่องที่ตีพิมพ์ส่วนใหญ่จึงเป็นนวนิยายแต่ก็มีคอลัมน์ที่ให้ความรู้ บทความเบ็ดเตล็ด สรุปข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆไว้ด้วย ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ สกุลไทย ขวัญเรือน แพรวและดิฉัน เป็นต้น
5. วารสารวิชาการหรือวารสารเฉพาะวิชา
เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนและผู้อ่านประจำเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการนั้นหรือมีความสนใจในสาขาวิชานั้น ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ข่าวสารการธรณีและวารสารสร้างเสริมสุขภาพ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนกรมส่งเสริมสุขภาพนอกจากนี้ยังอาจพบวารสารบางชื่อซึ่งมีจำวนหน้าน้อยกว่าวารสารส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายจดหมายข่าว (newsletter) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวงวิชาการเฉพาะวิชา ใช้ชื่อว่า “จุลสาร” ได้ ดังตัวอย่างของ จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษาของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
6. วารสารที่มีลักษณะกึ่งวิชาการ หรือวารสารเชิงวิจารณ์
มีลักษณะผสมผสานระหว่างวารสารสองประเภท วารสารประเภทนี้มุ่งให้คนทั่วไปอ่านได้ ประกอบด้วยบทความหลายบทความ แต่แตกต่างจากวารสารทั่วไปคือเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ และใช้คำเรียกทั้งวารสารและนิตยสาร เช่น วารสารเมืองโบราณ นิตยสารสารคดี นิตยสารศิลปวัฒนธรรม อนุสาร อสท. นิตยสารชีวจิต นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และใกล้หมอ เป็นต้น
7. วารสารวิชาการ
เป็นสิ่งพิมพ์ที่เสนอบทความรู้ทางวิชาการ มักจัดทำโดยสมาคมทางวิชาการ สถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาการเผยแพร่สารนิเทศใหม่ ๆ ในรูปของบทความรู้ เช่น วารสารแก่นเกษตร วารสาร สสวท. วารสารปศุสัตว์ วาสารวิศวกรรมสาร ฯลฯ
8. วารสารทั่วไป
คือ วารสารที่เสนอบทความรู้ทั่วไปอาจมีความบันเทิงรวมอยู่ด้วย ส่วนมากจัดทำโดยสำนักพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า นิยมใช้คำว่านิตยสาร (magazine) เช่น นิตยสารขวัญเรือน เป็นต้น
9. วารสารวิเคราะห์วิจารณ์ข่าว
คือ วารสารที่นำเสนอบทวิเคราะห์ข่าว วิจารณ์ข่าว เช่น สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ มติชนสุดสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น